วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

กิจกรรมวันนี้

                             

เมื่อปั๊มใบมาเรียนเสร็จ อาจารย์ก็พาทำกิจกรรม เล่นเกม เพื่อเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความ
       กระตือรือร้น มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น หากใครทำผิดกติกาก็ให้ออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน

                            

                           
จากนั้น อาจารย์ก็เริ่มสอนเนื้อหาใหม่ วันนี้เรียนเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก
  ปฐมวัย ขณะเดียวกัน อาจารย์ก็สอดแทรกความรู้ของทฤษฎีต่างๆ และแนวคิดของทฤษฎีนั้นๆ เพื่อ
                                                      เป็นการทบทวนความรู้เดิม

                              

แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้
- มุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ ได้แก่ มุมมองด้านโครงสร้าง ด้านหน้าที่ และด้านปฏิเสธสัมพันธ์ของภาษา
- การสอนแบบอ่านแจกลูก หรือการอ่านสะกดคำ เช่น หอ-อู-หู,กอ-อา-กา เป็นต้น ซึ่งทำให้รู้ว่า การสอนวิธีนี้ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- การสอนแบบภาษาธรรมชาติ หรือแบบองค์รวม ซึ่งวิธีนี้เป็นการสอนที่ดีที่สุด ได้ผลดีดีที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะเด็กจะได้เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ รวมถึงอิทธิพลของ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ไม่เข้มงวดการท่อง สะกด และไม่บังคับให้เด็กเรียนอย่างเดียว ซึ่งอาจารย์ได้มีวิดิโอมาให้นักศึกษาดู เพื่อให้มีความเข้าใจ สามารถมองภาพการเรียนรู้ โดยการสอนแบบธรรมชาติได้มากขึ้น

                     


                     

                     

สิ่งที่สรุปได้จากคลิป
- การสะกดคำยากสำหรับเด็ก
- การสอนเด็กนั้น ควรมีทั้งภาพและคำ
- ต้องยอมรับในสิ่งที่เด็กพูด อ่าน เขียน
- อย่าคาดหวังว่าเด็กจะมีพัฒนาการเหมือนกัน
- การพัฒนาภาษาแบบธรรมชาติ สามารถบูรณาการได้หลากหลายเป็นต้น

                  

                   

                                 

                                 
     ในขณะเรียนเนื้อหาวิชาการ อาจารย์ก็มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมอยู่เป็นระยะ ๆ เช่น
        การร้องเพลง/จับหรือสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตามเนื้อเพลง, การอ่านคำตามภาพ

                    

           การสอนเด็กปฐมวัยแต่ละสถานศึกษา ก็มีความแตกต่างกันไป เช่น บางที่จะสอนให้เด็กคัดพยัญชนะไทยตามลำดับ ตั้งแต่ ก-ฮ หรือ บางที่อาจจะสอนเด็กเขียนตัวอีกษรที่ง่ายๆ ก่อน ค่อยไปเขียนตัวอักษรที่ยากขึ้นตามลำดับ และอาจารย์ก็ยกอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งทำให้รู้ว่า การสอนแบบไม่เรียงลำดับ อาจจะง่ายก็จริง แต่จะทำให้เกิดความสับสนได้

                        

                                              

                                  

นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คำพูด หรือภาษาสำหรับคุณครู ในการที่จะพูดกับเด็กปฐมวัย เพื่อ
  ให้การสื่อสารมีผลดีมากขึ้น เพราะเด็กปฐมวัยจะชอบคุณครูที่พูดเพราะ และไม่ควรพูดคำว่า "ไม่ หรือ
                                อย่า" กับเด็ก ๆ อาจจะมีวิธีพูดที่ดีกว่าดังภาพตัวอย่าง

                                    

ภาพบรรยากาศในห้องเรียนแลดูตั้งใจกันดีเนอะ (>,<)




กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน ออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียน คนละ 1 เพลง ซึ่งเป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอน เพื่อนำไปสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำคำพูดเชิงบวก หรือภาษาสำหรับครูที่จะใช้กับเด็ก ไปฝึกพูดเพื่อให้เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
- สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็กได้ ในการสื่อสารหรือใช้ภาษาที่ถูกต้อง
- เมื่อรู้ว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เป็นความรู้ว่า ควรจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละคนอย่างไร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเด็ก และทำให้เด็กมีพัฒนาการในการเรียน รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตนเองมีความตั้งใจในการเรียนมีความเข้าใจในบทเรียร และกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์มอบหมาย อาจจะล่าช้าบ้าง แต่ก็พยายามพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคนตั้งใจเรียนดีมาก และร่วมทำกิจกรรม ทำใให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่เคร่งเครียด แล้วยังช่วยเหลือกันและเป็นอย่างดี ทำให้เรียนอย่างมีความสุข

ประเมินอาจารย์ : อ.เบียร์ตรงต่อเวลา และเตรียมความพร้อมในการสอนมาอย่างดี ทำให้การเรียนและการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างดี กิจกรรมที่นำมาให้นักศึกษาทำนั้นเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ มีความสนุก ช่วยฝึกสมาธิผู้เรียน ทำให้มีความสุข ไม่น่าเบื่อ แล้วให้คำปรึกษาที่ดีเสมอก่อนจากกันในชั่วโมงนั้นๆ

                               

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.



 

เมื่อถึงเวลาเรียน สิ่งที่ทำเป็นอันดับแรกคือการปั๊มใบเข้าเรียน เพื่อเป็นการบ่งบอกว่ามาเรียนตรงเวลา 
มีการเล่นเกมก่อนจะเรียนด้วยนะเพื่อจะกระตุ้นนักศึกษาให้มีการตื่นตัว เหตุเพราะนักศึกษาแต่ละคนดูอ่อนแรงกันเหลือเกิ๊น ดูท่าจะรับข้อมลได้ไม่เต็มที่ อ.จึงใช้เกมส์เพื่อเร้าความสนใจและทำให้ตื่นตัวมีสมาธิมากขึ้นแล้วถึงจะเข้าสู่บทเรียน



เนื้อหาวันนี้

ทฤษฎีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย (เสียงแบบเอคโค่) 




กิจกรรมต่อมา คือการทบทวนเพลง ที่ร้องไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ เพลงตาดูหูฟัง จ้ำจี้ดอกไม้ ดอกไม้ นกเขาขัน และเพลงกินผักกัน จากนั้นก็ต่อด้วยการฝึกร้องเพลงใหม่ จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงดวงอาทิตย์ รำวงดอกมะลิ ดอกมะลิ ดวงจันทร์ และเพลงดอกกุหลาบ



อาจารย์ได้ให้แผ่น CD เพลงและ VDO ประกอบเพลงต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษาได้นำไปฝึกร้อง ฝึกเต้นประกอบเพลง และใช้ในการทบทวน เพื่อนำมาสอบในรายวิชานี้ด้วย


แต่จู่ๆก็ได้กินขนมฟรีด้วยอร่อยฟินเวอร์เรียนไปกินไปชั่งมีความสุขจิงเลย  รู้สึกชอบที่ได้เรียนกับอาจาร์ยเบียร์ ก็มันชิวนี่นา....... > ,< 555++





 กิจกรรมต่อมา เริ่มเข้าหลักวิชาการ ซึ่งวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับหัวข้อ 

“แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย”





ต่อมา อาจารย์ก็มีเกมกิจกรรมมาให้นักศึกษาออกมาร่วมทำหน้าชั้นเรียน โดยให้นักศึกษา อาสาออกมาทำเอง มีชื่อกิจกรรมว่า “กิจกรรมลิ้นพันกัน” คือให้ออกมาอ่านคำ หรือประโยคที่อาจารย์นำมาให้ ซึ่งดิฉันก็ออกไปร่วมทำกิจกรรมนี้ด้วย สนุกมาก ๆ เรียกรอยยิ้ม เสียงหัวเราะจากอาจารย์ และเพื่อน ๆ ได้ อีกทั้งยังได้ฝึกทักษะในการพูดออกเสียงอย่างชัดเจน รวดเร็วอีกด้วย

เกมนี้มีชื่อว่าเกมลิ้นพันกันในประเทศอเมริกาได้ให้เด็กฝึกเล่นเกมนี้ เปลี่ยนจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เกมนี้จะช่วยฝึกให้เด็กพูดได้อย่างฉะฉานเกิดความมั่นใจในตัวเองเป็นพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้แก่เด็ก
กิจกรรมต่อมาป็นการแต่งนิทาน
โดยอาจารย์ได้นำผลงานตัวอย่างมาให้ดู 




และช่วยกันแต่งนิทานทั้งผู้เรียนและผู้สอนใช้อาสาสมัครอีกแล้วววว ในนั้นต้องมีเรา อิอิ

หลังจากได้ดูตัวอย่างไปเราได้แบ่งกลุ่มแล้วก็เป็นการลงมือปฏิบัติแล้ว เย้ๆ (^_^)



กิจกรรมสุดท้าย คือการร่วมกันแต่งนิทาน ในหัวข้อ “ผลไม้หลากสี” ที่พวกเราช่วยกันระดมความคิด และแบ่งกลุ่มกัน รับผิดชอบวาดภาพ ระบายสี ส่วนประกอบของนิทานแต่ละหน้า ทุกกลุ่มต่างก็มีผลงานที่สวยงาม แตกต่างกันออกไป เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกคน


ความรู้ที่ได้รับ

      จากการเรียนเกี่ยวกับวิชาการ หัวข้อ แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย” ทำให้รู้จักนักทฤษฎีต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดที่แบ่งออกเป็น กลุ่ม ได้แก่ แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย และแนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจธรรมชาติความแตกต่างของแต่ละบุคคลมากขึ้น


_   ได้เรียนรู้เพลงที่ใช้สอนเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น และจากการทำกิจกรรมลิ้นพันกัน ทำให้รู้คำ หรือประโยคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อฝึกทักษะการพูดอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

-     จากกิจกรรมแต่งนิทาน ทำให้รู้ว่า นิทานสำหรับเด็กนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อเรื่องเยอะ เอาเพียงแต่พอเข้าใจ และให้เด็กได้วาดรูป ระบายสี ตามจินตนาการของเขา





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อทำให้มีความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละคน แต่ละช่วงวัย เมื่อเกิดปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
  • สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ เป็นความรู้ และเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ เช่น การร้องเพลง พร้อมท่าประกอบ การแต่งนิทาน ระหว่างครูกับเด็ก ๆ เพื่อเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการทำงานของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการได้หลากหลายวิชา

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตนเองตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งออกไปหน้าชั้นเรียน และการทำงานเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มที่ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดด้านการพัฒนาทาง ภาษา และได้ฝึกทักษะการพูด ออกเสียงอย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ ทั้งการเรียน และให้ความร่วมมือ ช่วยกันระดมความคิด   จินตนาการในการทำงาน มีความสุขในเรียนและทำกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนไม่เครียด และน่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนราบรื่น เป็นขั้นเป็นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาสอน ก็มีความสนุกสนาน รวมทั้งได้ความรู้ จากการเรียนและทำกิจกรรมด้วย