วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.
เมื่อถึงเวลาเรียน สิ่งที่ทำเป็นอันดับแรกคือการปั๊มใบเข้าเรียน เพื่อเป็นการบ่งบอกว่ามาเรียนตรงเวลา
มีการเล่นเกมก่อนจะเรียนด้วยนะเพื่อจะกระตุ้นนักศึกษาให้มีการตื่นตัว เหตุเพราะนักศึกษาแต่ละคนดูอ่อนแรงกันเหลือเกิ๊น ดูท่าจะรับข้อมลได้ไม่เต็มที่ อ.จึงใช้เกมส์เพื่อเร้าความสนใจและทำให้ตื่นตัวมีสมาธิมากขึ้นแล้วถึงจะเข้าสู่บทเรียน
เนื้อหาวันนี้
ทฤษฎีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย (เสียงแบบเอคโค่)
กิจกรรมต่อมา คือการทบทวนเพลง ที่ร้องไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ เพลงตาดูหูฟัง จ้ำจี้ดอกไม้ ดอกไม้ นกเขาขัน และเพลงกินผักกัน จากนั้นก็ต่อด้วยการฝึกร้องเพลงใหม่ จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงดวงอาทิตย์ รำวงดอกมะลิ ดอกมะลิ ดวงจันทร์ และเพลงดอกกุหลาบ
อาจารย์ได้ให้แผ่น CD เพลงและ VDO ประกอบเพลงต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษาได้นำไปฝึกร้อง ฝึกเต้นประกอบเพลง และใช้ในการทบทวน เพื่อนำมาสอบในรายวิชานี้ด้วย
แต่จู่ๆก็ได้กินขนมฟรีด้วยอร่อยฟินเวอร์เรียนไปกินไปชั่งมีความสุขจิงเลย รู้สึกชอบที่ได้เรียนกับอาจาร์ยเบียร์ ก็มันชิวนี่นา....... > ,< 555++
กิจกรรมต่อมา เริ่มเข้าหลักวิชาการ ซึ่งวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับหัวข้อ
“แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย”
ต่อมา อาจารย์ก็มีเกมกิจกรรมมาให้นักศึกษาออกมาร่วมทำหน้าชั้นเรียน โดยให้นักศึกษา อาสาออกมาทำเอง มีชื่อกิจกรรมว่า “กิจกรรมลิ้นพันกัน” คือให้ออกมาอ่านคำ หรือประโยคที่อาจารย์นำมาให้ ซึ่งดิฉันก็ออกไปร่วมทำกิจกรรมนี้ด้วย สนุกมาก ๆ เรียกรอยยิ้ม เสียงหัวเราะจากอาจารย์ และเพื่อน ๆ ได้ อีกทั้งยังได้ฝึกทักษะในการพูดออกเสียงอย่างชัดเจน รวดเร็วอีกด้วย
เกมนี้มีชื่อว่าเกมลิ้นพันกันในประเทศอเมริกาได้ให้เด็กฝึกเล่นเกมนี้ เปลี่ยนจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เกมนี้จะช่วยฝึกให้เด็กพูดได้อย่างฉะฉานเกิดความมั่นใจในตัวเองเป็นพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้แก่เด็ก
กิจกรรมต่อมาป็นการแต่งนิทาน
โดยอาจารย์ได้นำผลงานตัวอย่างมาให้ดู
และช่วยกันแต่งนิทานทั้งผู้เรียนและผู้สอนใช้อาสาสมัครอีกแล้วววว ในนั้นต้องมีเรา อิอิ
หลังจากได้ดูตัวอย่างไปเราได้แบ่งกลุ่มแล้วก็เป็นการลงมือปฏิบัติแล้ว เย้ๆ (^_^)
กิจกรรมสุดท้าย คือการร่วมกันแต่งนิทาน ในหัวข้อ “ผลไม้หลากสี” ที่พวกเราช่วยกันระดมความคิด และแบ่งกลุ่มกัน รับผิดชอบวาดภาพ ระบายสี ส่วนประกอบของนิทานแต่ละหน้า ทุกกลุ่มต่างก็มีผลงานที่สวยงาม แตกต่างกันออกไป เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกคน
ความรู้ที่ได้รับ
ความรู้ที่ได้รับ
จากการเรียนเกี่ยวกับวิชาการ หัวข้อ “แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย” ทำให้รู้จักนักทฤษฎีต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย และแนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจธรรมชาติความแตกต่างของแต่ละบุคคลมากขึ้น
_ ได้เรียนรู้เพลงที่ใช้สอนเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น และจากการทำกิจกรรมลิ้นพันกัน ทำให้รู้คำ หรือประโยคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อฝึกทักษะการพูดอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
- จากกิจกรรมแต่งนิทาน ทำให้รู้ว่า นิทานสำหรับเด็กนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อเรื่องเยอะ เอาเพียงแต่พอเข้าใจ และให้เด็กได้วาดรูป ระบายสี ตามจินตนาการของเขา
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อทำให้มีความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละคน แต่ละช่วงวัย เมื่อเกิดปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
- สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ เป็นความรู้ และเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ เช่น การร้องเพลง พร้อมท่าประกอบ การแต่งนิทาน ระหว่างครูกับเด็ก ๆ เพื่อเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการทำงานของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการได้หลากหลายวิชา
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตนเองตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งออกไปหน้าชั้นเรียน และการทำงานเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มที่ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดด้านการพัฒนาทาง ภาษา และได้ฝึกทักษะการพูด ออกเสียงอย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ ทั้งการเรียน และให้ความร่วมมือ ช่วยกันระดมความคิด จินตนาการในการทำงาน มีความสุขในเรียนและทำกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนไม่เครียด และน่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนราบรื่น เป็นขั้นเป็นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาสอน ก็มีความสนุกสนาน รวมทั้งได้ความรู้ จากการเรียนและทำกิจกรรมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น